ประเพณีประจำปีและงานแสดงของ ช้าง

  จังหวัดสุรินทร์ เป็นถิ่นฐานของชาวไทยเชื้อสายกูย ซึ่งเป็นชนเผ่าที่เชี่ยวชาญการจับช้าง เลี้ยงช้าง และฝึกช้างมาแต่อดีตกาล แม้วันนี้การคล้องช้างป่าจะยุติไปแล้วแต่พวกเขายังเลี้ยวช้างไว้ดั่งสัตว์เลี้ยงของครอบครัว ชาวสุรินทร์ได้เคยทำชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยมาแล้ว   และเมื่อ  "การแสดงของช้าง"   ไดถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อ  พ.ศ. 2503  นั้น   ทำให้นามของจังหวัดสุรินทร์เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

    งานแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์   ได้กำหนด จัดงานนี้ในวันเสาร์ - อาทิตย์   ที่สองของเดือนพฤศจิกายน   ทุกปี   สนามกีฬากลางจังหวัดสุรินทร์   ถือเป็นงานประจำปีระดับชาติแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวทั่วทุกมุมโลกมาร่วมชมงานนี้   เป็นงานแสดงที่ยิ่งใหญ่ที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศไทย   และจังหวัดสุรินทร์การแสดงของช้างประกอบด้วยการแสดงคล้องช้างการชักคะเย่อ ระหว่าง ช้างกับคน   ช้างแข่งฟุตบอล ขบวนช้าวศึก   รวมทั้งการแสดงศิลปะพื้นเมือง   เช่น  รำเรือนอัมเร เซิ้งบั้งไฟ   ฯลฯ

    งานประเพณีบวชนาคแห่ช้าง   (ประเพณีบวชช้าง)   จัดขึ้นในวันขึ้น  13 - 15  ค่ำ   เดื่อน  6 (ราวกลางเดือนพฤศภาคมของทุกปี )  ณ วัดแจ้งสว่าง  บ้านตากลาง   อ.ท่าตูม   จะมีการแห่แหนบรรดานาคด้วยขบวนช้างกว่า   50  เชือก   ข้ามลำน้ำมูลกันอย่างเอิกเกริก, พิธีโกนผมนาค, พิธีแห่นาคช้างไปสักการะสิ่งศักดิ์ ที่ศาลเจ้าพ่อวังทะลุ   และพิธีอุปสมบทนาค

ความเป็นมา

    ชาวจังหวัดสุรินทร์ทั้งเขมร ลาว กวย ล้วนนับถือพุทธศาสนาทั้งสิ้น ดังนั้น เมื่อลูกชายอายุครบ  20   ปีบริบูรณ์   ก่อนที่จะมีเหย้ามีเรือน   พ่อแม่จะต้องจัดการบวชลูกชาย   เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนาเสียก่อน ซึ่งส่วนมากจะทำก่อนเข้าพรรษา   เพราะถือว่าถ้าได้เข้าพรรษาจะได้บุญมาก   เนื่องจากเป็นช่วงที่พระภิกษุเคร่งพระวินัยมากกว่าระยะอื่น

    ประเพณีการบวชนาคสมัยก่อนนั้น นับว่าเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่มากทีเดียว เพราะชายหนุ่ม  (บิดา มารดา) ในละแวกเดียวกันจะนัดกันบวชพร้อมกัน การบวชนี้ถ้าจะให้ได้ชื่อเสียงหรือบุญมากจะต้องขี่ช้าง   แล้วแห่ไประยะไกล ๆ มีผู้คนร่วมขบวนแห่นาคเป็นจำนวนพันส่วนหนุ่มสาวก็จะถือโอกาสพบปะพูดคุยกันในงานนี้   การแต่งตัวเพื่ออวดกันนับเป็นสิ่งที่นิยมกันมาก   สิ่งที่นิยมอวดกันในงานนี้มากที่สุดดูเหมือนจะเป็นผ้าไหม   (ซิ่นไหม)   ถ้าหากใครมีผ้าซิ่นไหมมัดหมี่ลายสวยงามก็จะได้รับการชื่นชมเป็นพิเศษ

    งานประเพณีบวชนาคของชาวกวยหมู่บ้านช้างบ้านตากลางและหมู่บ้านใกล้เคียงในตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม   ซึ่งจัดขึ้นในวันขึ้น  13  14   และ  15  ค่ำเดือนหกทุกปี   ถือว่าเป็นงานประเพณีบวชนาคที่ยิ่งใหญ่ร่วมแห่นาคหลายพันคนและมีขบวนแห่ยาวไกลไม่น้อยกว่า   2  กิโลเมตร

ช้าง

ช้างในปัจจุบันมี 2 ตระกูลใหญ่ๆ คือช้างพันธุ์อินเดียหรือพันธุ์ไทย และช้าง อัฟริกา ช้างตกมันราวเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ช้างพลานตัวใดไม่ตกมันแสดงว่าเป็นโรคไม่สบาย หากไม่ตกมันควร หาที่อุดมสมบูรร์ให้อยู่ บางทีอาจจะพบในตัวเมียแต่น้อยมาก ปกติช้างจะตกมันเมื่ออายุ 15 ปี ที่ประเทศลาวให้ช้างกิน น้ำเต้าต้ม 5-6 ลูกจะช่วยบรรเท่าความเมามัน ช้างนอน ตอนสายโดยเฉพาะตอนเที่ยงที่อากาศร้อน จะออกหากินราวบ่าย 4 โมง ช้างบางตัวยืนหลับ บางตัวเอาหัวลงดินตะแคงและวางราบ ธรรมชาติของช้างะทนต่อความร้อนได้น้อยมากะชอบอยงุ่ใต้ร่มไม้ 9-10 ชั่วโมง มักอ่อนเพลีย ในตอนเที่ยงมันเอางวงเข้าไปในปากแล้วดูดเอาน้ำออกมาจากกระเพาะ นอกจากนี้ช้างยังชอบที่จะสาดทรายหรือโคลน ใส่หลังป้องกันแมลง ช้างเป็นสัตว์บกขนาดใหญ่ที่ใครพบเห็นมักจะเกิดความเอ็นดู โดยเฉพาะลูกช้าง แต่พูดถึงงานแสดงช้างใครๆ ก็ต้องพูดถึง สุรินทร์ ปัจจุบันได้กลายมาเป็นงานประเพณีที่นักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศรู้จักและเป็นงานที่ เชิดชูตาให้กับ ชาวสุรินทร์อีกงานหนึ่ง
สัดส่วนของช้าง
ความสูง ช้างอินเดียโดยเฉลี่ยสูปงประมาณ 9 ฟุต ตัวเมียประมาณ 8 ฟุต ช้างที่คลอดใหม่ๆ สูงโดยเฉลี่ยประมาณ 3 ฟุต ช้างอัฟริกาสูงไม่เกิน 12 ฟุต น้ำหนัก ช้างที่สมบูรณ์ สูง 8 ฟุต 3 นิ้ว หนัก 3 ตัน วัดรอบอกประมาณ 18 นิ้ว ต่อความสูง 1 ฟุต นิสัย ช้างส่วนใหญ่จะทำงานก็ต่อเมือได้รับคำสั่งเท่านั้น น้อยมากที่จะทำเพราะต้องการทำประโยชนน์ แก่เจ้าของ นอกจากจะฝึกไว้เป็นพิเศษ ช้างจะไม่ช่วยเจ้าของแม้จะถูกทำร้ายต่อหน้าของมันแต่มันก็เป็นทาสผู้ซื่อสัตย์ ช้างเลี้ยง มีแต่พันธุ์อินเดีย ไม่ค่อยมีช้างอัฟริกา ส่วนใหย่นิยมล่ามากกว่าจับมาเลี้ยง
การตั้งครรภ์
ช้างตั้งครรภ์ 640 วัน หรือ 12 เดือน อาจจะอยู่ในช่วง 17-23 เดือน ช้างคลอดใหม่ๆ จะมีน้ำหนักประมาณ 200-220 ปอนด์ โดยมากช้างจะคลอดลูกครั้งละ 1 ตัว ช้างจะกินนมอย่างเดียวอยู่ 6 เดือนจึงเริ่มกินหญ้าและใบไม้ แต่ยังกินนมต่อไปอีกนาน ช้างมักจะทับในเวลากลางคืนของฤดูร้อน คลอดราวเดือนมกราคม ก่อนคลอดช้างจะ ดูยากจึงไม่รู้ว่าช้างจะคลอดตอนไหน กว่าจะรู้ช้างก็คลอดพอดี อายุ ช้างป่าอายุจะยืนยาวกว่าช้างบ้าน คือ ประมาณ 150 ปี ช้างบ้านประมาณ 40 ปี