วันขึ้น
13, 14 และ 15 ค่ำเดือน หก ของทุกปี
ณ หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ |
||||||||
จังหวัดสุรินทร์
ยินดีต้อนรับสู่ งานประเพณีบวชนาคช้าง
บ้านตากลางหรือที่คนทั่วไปรู้จักในนามหมู่บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์ ที่มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี มีเอกลักษณ์อันโดดเด่น เป็นการเฉพาะที่ไม่เหมือนใคร ทั้งในด้านภาษาพูดความเป็นอยู่ร่วมกันระหว่าง คนกับช้างและวัฒนธรรมในระบบพึ่งพาถ้อยทีถ้อยอาศัยมา เป็นเวลานานหลายชั่วอายุคน เช่น เวลา มีงานต่าง ๆ ทุกครั้งจะมีความผูกพันธ์กันเสมอ ยากที่จะแยกออกจากกันได้ ในภูมิปัญญาชาวบ้าน ผู้มองเห็นกาลไกลให้ลูกหลานได้เคารพในกฏของธรรมชาติ ไป-ลา มา-บอก ทุกคนจะต้องยึดถือปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยให้ยึดถือ "ศาลปะคำ" ช้างเป็นหลักเป็นชุมชนที่ยังหลงเหลือให้ดูเพียงหนึ่งเดียวในโลกนั่นคือ ชุมชนชาวกวยเลี้ยงช้างในเขตตำบลกระโพ และที่หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ การเคารพช้างก็เท่ากับการเคารพศาลปะกำ การเคารพศาลปะกำก็เท่ากับเคารพบรรพบุรุษ คนและช้างเปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัวที่มีความผูกพันธ์กันอย่างแนบสนิทตามฐานะอายุของช้างและคน ถ้าช้างมีอายุมากก็เปรียบช้าง เสมือน พ่อ-แม่-ปู-ย่า-ตา-ยาย ถ้าช้างมีอายุน้อยก็เปรียบช้างเสมือนลูก-หลาน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องสูญเสียล้มหายตายไปผู้อยู่เบื้องหลังก็จะต้องเสียใจเป็นธรรมดา สุดท้ายก้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตามฐานะ ตามธรรมเนียมชาวกวยเลี้ยงช้างทุกคนจะไม่รับประทานเนื้อช้างโดยเด็ดขาด เพราะช้างคือสัตว์คู่บ้านคู่เมือง คู่พระพุทธศาสนา มีคุณค่าต่อชาวโลกด้านวัฒนธรรมประเพณีมาทุกยุคทุกสมัย จนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดมาจนปัจจุบัน เช่น วัฒนธรรมประเพณีกราบไหว้ศาลปะกำประจำตระกูล วัฒนธรรมประเพณีลอดท้องช้าง วัฒนธรรมประเพณีนำช้างเข้าร่วมพิธีขบวนแห่นาค วัฒนธรรมประเพณีการเคารพ กฎระเบียบข้อปฏิบัติ ข้อห้ามของหมอช้าง เป็นต้น จนกลายเป็นวิธีชีวิตของชุมชนที่แท้จริง "ศาลปะกำ"
คืออะไร? ทำไมต้องกราบไหว้บูชาบอกกล่าว "ศาลปะกำ"
ทำไมลูก-หลาน
ชาวกวยอาเจียง จึงนิยมบรรพชาอุปสมบทหมู่ และแห่นาคด้วยขบวนช้าง ในวันขึ้น 13-14-15 ค่ำเดือน 6 ของทุกปี ตามความเดิมผู้เขียนได้สอบถามและทำความเข้าใจกับผู้เฒ่า ครูบาอาจารย์มาหลายคนสรุปได้ว่า บุตรหลานชายหลังจาก จบการศึกษาภาคบังคับแล้วในเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนไม่มีที่ศึกษาต่อ หรือมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์พออุปสมบทได้แล้ว และยัง เป็นโสด บิดามารดาก็จะนำไปฝากเป็นนาคอยู่ที่วัดก่อน เพราะเป็นเวลาว่างงานแล้วยังจะได้เตรียมงานช่วยทางวัดอีกด้วย และอีกอย่าง หนึ่งคือประมาณเดือน 6 ฝนเริ่มตกบรรยากาศเริ่มดีพืชพันธุ์ธัญญาหารทางธรรมชาติก็เริ่มงอกงามขึ้นบ้างแล้ว เป็นเวลาที่ทุกคนจะ เริ่มลงมือทำไร่ ทำนาตามประเพณีนิยมท้องถิ่น จึงประกาศให้บุตรหลานผู้สนใจ และมีจิตศรัทธาเข้าบรรพชาอุปสมบทในวันดังกล่าว พร้อม ๆ กันครั้งเดียว แล้วทุกคนทุกครัวเรือนในเขตรัศมีวัดร่วมเป็นเจ้าภาพไม่จำเพาะเจาะจงว่าเป็นบุตร หลานของใคร ผู้ใดมีช้างมี ม้าก็ให้นำมาร่วมขบวนแห่ จนกลายเป็นงานประเพณีประจำปีของชาวกวยอาเจียงถึงปัจจุบัน หากจะอุปสมบทก่อนหรือหลังนั้นก็ถือว่า เป็นหน้าที่ของผู้นั้นเพียงผู้เดียว
"นาค"
คือใคร? ทำไมจึงเรียกว่า "นาค" นาค หมายถึงบุคคลที่จะทำหน้าที่บรรพชา อุปสทบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เหตุที่เรียกว่า นาค ก็๋เพราะว่าเมื่อสมัยพุทธกาลได้มีนาคตนหนึ่งอาศัยอยู่ใต้เมืองบาดาลมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้แปลงกายเป็น มนุษย์มาขอบรรพชา อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา อยู่มาวันหนึ่งขณะที่พักผ่อนหรือจำวัดพระภิกษุรูปนั้นก็กลายร่างเป็นนาคเหมือนเดิม ข่างทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงให้ท่านกลับไปเป็นนาคอยู่ใต้บาดาลเหมือนเดิม เพราะนาคเป็นสัตว์เดรัจฉานไม่สามารถบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาได้อีกต่อไป ก่อนไป นาคตนนั้นได้ขอฝากพระพุทธเจ้าได้ว่าต่อไปนี้หากกุลบุตรผู้ใดจะอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาขอให้นึกถึงข้าพเจ้าด้วย คือ ขอฝากชื่อของนาคไว้ให้เรียกก่อนอุปสมบทจริง ดังนั้น จึงเรียกบุคคลที่จะทำการบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุว่า นาค ตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงทุกวันนี้ ทำไมลูกหลานชาวกวยอาเจียง
จึงนิยมแห่นาคด้วยขบวนช้างจำนวนมากไปที่วังทะลุ
ทำไม
บุตรหลานชาวกวยอาเจียงจึงนิยมอุปสมบทในวันขึ้น 15 ค่ำเพ็ญเดือน 6 ของทุกปี
กระโจม หรือชฎาที่นาคสวมใส่ในพิธีแห่งนาคนั้นผู้เขียนเคยได้สอบถามท่านผู้รู้ที่มีอายุตลอดทั้งครูบาอาจารย์ที่เป็นพระสงฆ์พอจะสรุปได้ว่า กระโจมหรือชฎา เป็นเครื่องหมายของผู้สูงศักดิ์ หรือผู้มีบุญจึงจะมีสิทธิ์สวมใส่ได้ หากเคยได้ดูละคร, โขน, ลิเก, หมอลำ, นวนิยาย, เป็นต้น ก็จะหมายถึงเครื่องประดับของท่าน พระอินทร์, เทวดา, พระพรหม เป็นต้น หากเป็นเมืองมนุษย์ก็คงจะหมายถึงพระมหากษัตริย์หรือผู้สูงศักดิ์ ผุ้มีบุญญาวาสนาเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์สวมใส่ ในงานพิธีต่าง ๆ จะสวมใส่เล่นโดยไม่มีเหตุผลไม่ได้เป็นอันขาด ดังนั้นนาคก็คงจะหมายถึงผู้มีบุญญาวาสนา หรือผู้สูงศักดิ์เหนือกว่ามนุษย์ธรรมดาทั้งหลายแล้ว จึงอนุญาตให้สวมใส่ได้ ในเฉพาะพิธีเท่านั้นหลังจากนั้นแล้วก็หมดสิทธิ์ใส่เช่นกัน ฝ้าย หรือสำลีที่ใบหูทั้งสองก็เป็นเครื่องหมายเพื่อเตือนสติให้เจ้านาคได้รู้ตัวว่า บัดนี้ท่านนาคกำลังเข้าสู่อุดมเพศหรือเพศผู้สูงศักดิ์เหนือกว่าคนธรรมดาทั้งหลาย เจ้าจงอย่าได้หูเบาเหมือนฝ้ายหรือสำลีเวลาถูกลมพัดก็แกว่งไปมาอยู่ตลอดเวลา เจ้าจงหูหนักเอาไว้เหมือนหินและเครื่องประดับอื่น ๆ ภายในกายของเจ้าให้เปรียบเทียบดูเอาเอง หากได้ยินใครพูดอะไรเจ้าก็อย่าได้หลงเชื่อโดยง่ายให้รู้จักพิจารณาด้วยเหตุด้วยผลอย่าเป็นคนมงคลตื่นขาว ก่อนตัดสินใจในเรื่องอะไรควรไตร่ตรองให้รอบคอบด้วยสติอันมั่นคง อย่างถ่องแท้ให้ละเอียดถี่ถ้วน เพราะก่อนทำนั้นเราเป็นนาย หากทำลงไปแล้วเราจะเป็นบ่าว ผ้าหลากสี (ผ้า 7 สี) นั้นหมายความว่าทุกอย่างนั้นผ่อนเปลี่ยนแปลงได้เสมอ แม้แต่คำพูดของใครต่อใครที่เจ้าคิดว่ามั่นคงและดี สักวันหนึ่งอาจจะไม่ดีหรือมั่นคงเหมือน อย่างที่เจ้าคิดก็ได้ให้รู้จักทำใจเผื่อเอาไว้บ้างอย่าทุ่มเทกับใครจนเกินไปโดยเฉพาะสตรีที่เจ้าคิดว่ามั่นคงและดีที่สุด ส่วนอีกความหมายหนึ่ง เปรียบเสมือนรุ้ง 7 สี มณี 7 แสง เป็น สีแดง แห่งผู้มีบุญญาวาสนาหรือผู้สูงศักดิ์ เพราะรุ้งหมายถึงสิ่งที่อยู่ที่สูงจะปรากฏให้เห็นเฉพาะเวลามีฝนตก ก่อนหรือหลังเท่านั้น จะไม่ปรากฏให้เห็นทั่วไปโดยง่าย ดังนั้นผ้าหลากสี ( 7 สี) ก็มิใช่ว่าจะปรากฏใส่เล่นให้เห็นโดยง่ายอีกเช่นกัน ถ้ามิใช่เวลามีนาคบวชและในพิธีบวชนาคกลุ่มใหญ่ ๆ เท่านั้นจึงจะมีให้เห็น หากนาคบวชแบบง่าย ๆ ก็จะไม่มีพิธีนั้ให้เห็นเลย สร้อยคอหรือเครื่องประดับร่างกายของนาค เมื่อก่อนที่คอของนาคจะประดับด้วยสังวาล, ตรึม ที่แขนหรือข้อมือก็จะประดับด้วย กำไล ฯลฯ ปัจจุบันสิ่งเหล่านั้นกำลังสูญหายไป จากชาวส่วย (กวยอาเจียง) แต่สร้อยทองคำและเหลด กำลังเข้ามาแทนที่เพราะของเก่า ๆ เหล่านั้นได้พากันขายไปเกือบหมดแล้วนับว่าเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย จึงสรุปได้ว่า เครื่องประดับต่าง ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ทุกอย่างล้วนมีความหมายอยู่ในตัว และมีที่มาที่ไปเป็นปริศนาสอนธรรมะอยู่ในตัวอย่างเห็นได้ชัดเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน โดยแท้เราท่านควรจะช่วยกันหาทางอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างยิ่ง ก่อนที่จะสายไปกว่านี้ |