การฟ้อนรำของชาวจังหวัดสุรินทร์ที่พูดภาษาเขมร วัฒนธรรมถือเป็นมรดกร่วมของกลุ่มชน การสร้างสรรค์ สังคมสืบทอดวัฒนธรรมเป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ทุกยุค ทุกสมัย การฟ้อนรำเป็นส่วนหนึงของวัฒนธรรมที่ชาวบ้านสร้างสรรค์ขึ้น จากเงื่อนไขสภาพแวดล้อมของแต่ละถิ่น เป็นมรดก ที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น ๆ สั่งสม สืบทอด ปรับเปลี่ยน เพื่อความเหมาะสมตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป วิธีการสืบทอด ยาศัยการบอกเล่า จดจำ ทำตามครูรู้แบบซึมซับและรับด้วยความพึงพอใจ การฟ้อนรำพื้นบ้านถือเป็นมรดกร่วมกันของกลุ่มชาวบ้านเป็นต้นคิดเป็นผู้เล่น และสืบทอดโดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อสนองความ ต้องการของชาวบ้าน ลักษณะของการฟ้อนรำพืเนบ้านจะใช้ภาษาถิ่น ท่วงทำนองลีลาเฉพาะถิ่นเป็นรูปแบบ กำเนิดของการฟ้อนรำในจังหวัดสุรินทร์ การฟ้อนรำในจังหวัดสุรินทร์ อาจมีกำเนิดมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ ความเชื่อเกี่ยวกับอำนาจเร้นลับเหนือธรรมชาติ มนุษย์แต่เดิมมีความเชื่อในเรื่องสิ่งศึกดิ์สิทธิ์ ภูติผีปีศาจ วิญญาณบรรพบุรุษ เทวดา เมื่อทำผิดอะไรไป เช่น การตาย น้ำท่วม ทำนาไม่ได้ผล เกิดความแห้งแล้ง หรือไฟไหม้ก็คิดว่าตนได้กระทำผิดและเชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือภูติผีปีศาจ สามารถให้คุณและโทษแก่มนุษย์ได้จึงมีการบวงสรวงเพื่อขอขมา หรือทำให้สิ่งเหนือธรรมชาติพอใจโดยจัดเครื่องเซ่นสังเวย มีผู้ติดต่อกับเทพหรือวัญญาณต่าง ๆ มีการขับร้องฟ้อนรำถวายเพื่อเป็นการบวงสรวง ดนตรีและการละเล่นพื้นบ้านสุรินทร์ที่เกิดขึ้นจากความเชื่อนั้น เช่น เรือมมม็อต เรือมตรต(ตรุษ) มองก๊วลจองได เป็นต้น การทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ ในสังคมเกษตรกรรมชาวบ้านจะทำงานช่วยเหลือกันเป็นหมู่คณะ ซึ่งเรียกว่าการลงแขกเป็นการแสดงน้ำใจเอื้อเผื้อต่อเพื่อนบ้านปลูกฝังความสามัคคี เช่น ลงแขกเกี่ยวข้าว ลงแขดำนา เป็นต้น การที่ชาวบ้านมารวมกลุ่มร่วมมือกัน ย่อมมีการแสวงหาความบันเทิงใจ หรือต้องการผ่อนคบายอารมณ์ จึงมีการคิดการแสดงและการละเล่นต่าง ๆ ขึ้น เช่น เกิดการร้องเพลงเกี่ยวข้าว เกิดรำเต้นกำรำเคียว เป็นต้น การฟ้อนรำของจังหวัดสุรินทร์ที่เกิดขึ้นในลักษณะดังกล่าว เช่น เรือมอันเร (รำสาก) เป็นการเล่นเพื่อความสนุกสนาน หลังจากว่างเว้นจากการทำนา การเลียนแบบธรรมชาติ ธรรมชาติมีอิทํธิพลต่อวิถีชีวิตของมนุษย์เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้มนุษย์คิดสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้น การฟ้อนรำที่คิดประดิษฐ์ท่ารำมาจากการลอกเลียนแบบกิริยาของสัตว์ เช่น เรือมกระโน้บติงตอง เป็นการเลียนแบบลีลา ท่าทางของตั๊กแตนซึ่งกำลังเกี้ยวพาราสีกัน นอกจากนี้ยังมีท่ารำที่ดัดแปลงมาจากธรรมชาติ เช่น ท่ามะโลบโดง (ร่มมะพร้าว) ในรำเรือมอันเรซึ่งนำเอาลีลาของใบมะพร้าว ต้นมะพร้าว เวลาโดนลมพัดโอนเอนไปมา แล้วใช้ภาษาท่าทางนาฏศิลป์เข้าประกอบเพื่อความสวยงาน เป็นต้น เกิดขึ้นจากความต้องการความสนุกสนานและประโคม ในงานเทศกาลบุญประเพณีของหมู่บ้าน ชาวบ้านจะคิดการแกดงที่จะทำให้เกิดความสนุกสนานหรือเป็นการประโมจึงมีการละเล่นหรือการแสดงประจำท้องถิ่นขึ้น เช่น การละเล่นกันตรึม เรือมอาไย มองก๊วลจองได ระบำรำกรับ ระบำศรีขรภูมิ เป็นต้น การฟ้อนรำที่เกิดจากอาชีพในท้องถิ่น เป็นการฟ้อนรำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นจากการประกอบอาชีพต่าง ๆ ในท้องถิ่น เช่น การเลี้ยงไหม ทอผ้า มีการนำขั้นตอนการเลี้ยงไหม จนถึงขั้นตออนการทอผ้าเป็นลายต่าง ๆ มาประดิษฐ์เป็นท่ารำโดยเสริมแต่งลีลาทางนาฏศิลป็เข้าไป เกิดเป็นระบำศรีผไทสมันต์ขึ้น นอกจากนี้ก็มีระบำปั้นหม้อ จากอาชีพการปั้นหม้อโดยนำขั้นตอนจากการปั้นหม้อดินมาประดิษฐ์เป็นท่าฟ้อนรำให้สวยงามขึ้น เป็นต้น เกิดจากการรับวัฒนธรรมการฟ้อนรำของกลุ่มอื่นเข้ามาปรับใช้ เช่น จากประเทศเขมรซึ่งมีเขมรอพยพมาอยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ เมื่อมีคนไปชมก็ได้นำรูปแบบชองการฟ้อนรำเขมาเข้ามาถ่ายทอดสืบต่อกันมา เช่น ระบำสุ่ม ระบำกะลา และระบำร่ม เป็นต้นประเภทของการฟ้อนรำในจังหวัดสุรินทร์สามารถจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ การฟ้อนรำในประเพณีและพิธีกรรม ประกอบด้วย
การฟ้อนรำในงานนักขัตฤกษ ์ได้แก่
การฟ้อนรำในประเพณีพิธีกรรมและการฟ้อนรำในงานนักขัตฤกษ์ การฟ้อนรำในประเพณีพิธีกรรม ได้แก่
เรือมมองก็วลได เป็นการรำประกอบในพิธีบายศรีสู่ขวัญซึ่งแต่เดิมเป็นการรำแบบพื้นเมืองที่ไม่มีรูปแบบต่อมา ได้รับการปรับท่ารำให้เป็นรูปแบบขึ้นมาโดยอาจารย์จากภาควิชานาฏศิลป์วิทยาลัยครูสุรินทร์เมื่อปี 2526 โดยปรับท่ารำจากท่าพื้นเมืองให้สวยงามขึ้น เพลงร้องก็ใช้ทำนองเพลงกันตรึม คำร้องเป็นภาษาเขมร โอกาสที่ใช้แสดงใช้แสดง ได้ทุกโอกาสในการทำพิธีบายศรีประเพณีบายศรีสู่ขวัญเป็นพิธีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวจังหวัดสุรินทร์ทั้งในมูลเหตุแห่งความดีและไม่ดี เพราะถือว่าเป็นการเรียกขวัญให้มาอยู่กับตัว พิธีสู่ขวัญจัดได้ทั้งในโอกาสแสดงความชื่นชมยินดีและเป็นการปล่อยใจให้เจ้าของขัวัญจากคณะญาติมิตรและบุคคลทั่วไป ได้ดีมีโชค หรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือมาเยี่ยมเยียนก็จัดพิธีสู่ขวัญให้เป็นต้น ทำนองเพลงมองก็วลจองไดจะมีทำนองเฉพาะ ส่วนเนื่อร้องมีหลายอย่างแตกต่างกันออกไป วิธีการแสดง จะแสดงเป็นหมู่แบ่งออกเป็นคู่ ๆ จะเป็น 3 -5 คู่ ถ้าหากเวทีกว้างก็เพิ่มผู้แสดงมากขึ้นการรำมองก็วลจองไดผู้แสดง จะต้องฟังจังหวะตะโพนหรือฉิ่งเป็นสำคัญ การแต่งกาย แต่งกายแบบพื้นเมืองสุรินทร์ คือ หญิงนุ่งผ้าถุงไหมพื้นเมือง ยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอก มีผ้าสไบเฉียงไหล่แล้วมามัดรวมด้านซ้าย ชายจะนุ่งผ้าโจงกระเบนสีพื้นหรือเรียกว่าผ้าหางกระรอก สวมเสื้อคอกลม ผ้าคาดเอว
การฟ้อนรำในงานนักขัตฤกษ์
เครื่องดนตรี ที่ใช้ประกอบเรือมอันเรจะมีโทน ปี่ ซอ ตะโพน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และอุปกรณ์ที่สำคัญในการเล่นเรือมอันเร คือ อันเรหรือสากตำข้าว 1 คู่ ไม้รองสาก 2 อัน และคนตีสาก การแต่งกาย ในสมัยก่อนจะแต่งกายตามประเพณีนิยมของท้องถิ่น ปัจจุบันก็แต่งกายตามประเพณีดั้งเดิมอยู่คือชายจะนุ่งโจงกระเบนสวมเสื้อคอกลมแขนสั้นมีผ้าคาดเอวและผ้าคล้องไหล่ โดยปล่อยชายผ้าไปด้านหลังทั้งสองชาย หญิงจะนุ่งผ้าไหมพื้นเมือง เช่น ผ้าซิ่นปูม ซึ่งเรียกว่า "ซัมป็วตโฮล" สวมเสื้อแขนกระบอก มีผ้าสไบคาดทับเฉียงไปมัดรวมไว้ด้านซ้าย มีเครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ ตุ้มหู ดอกไม้ทัด เป็นต้น
วงดนตรี ที่ใช้ประกอบในการเล่นเรือมอายัยจะใช้วงกันตรึม ซึ่งประกอบด้วย โทน ซอ ปี่อ้อ ปี่ชลัย ฉิ่ง ฉาบ และกรับ ทำนองและจังหวะ เรือมอายัย มีทำนองและจังหวะหลายอย่าง แต่ที่นิยมคือ อายัยลำแบ เพราะเป็นทำนองที่เร่งเร้าสนุกสนาน
1. เพลงอาไยซาระยัง 2. เพลงเชิ้ป เชิ้ป 3. เพลงกัญจัญเจก (เขียดตาปาด) 4. เพลงอมตูก (พายเรือ) 5. เพลงมม็วต 6. เพลงกัตปกา 7. เพลงมองก็วตจองได การแต่งกาย รำกันตรึมแบบเดิม แต่งกายแบบพื้นเมืองใช้ผู้แสดงทั้งชายและหญิง หญิงจะสวมเสื้อแขนกระบอก นุ่งผ้าถุงและห่มสไบ ชายจะนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลมแขนสั้น มีผ้าคาดเอวและคล้องคอโดยปล่อยชายไปด้านหลังทั้งสองชายเหมือนเรือมอันเร การแต่งกายเรือมกันตรึม ที่ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่ ผู้แสดงเป็นหญิงล้วนนุ่งผ้าถุงพื้นเมืองยาวครึ่งน่อง มีผ้าขาวม้าไหมกระโจมอกจับจีบที่มุมผ้าด้านซ้ายเรือมกันตรึมที่ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่นั้นใช้รำในงานมงคลเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง เป็นต้น
การแสดง ระบำสุ่มเป็นการแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการประกอบอาชีพจับปลา ใช้ผู้แสดงทั้งชายและหญิง มีอุปกรณ์ประกอบการแสดง คือ สุ่ม และ เฉนียง ดนตรี ที่ใช้ประกอบใช้วงดนตรีพื้นเมืองสุรินทร์โดยนำทำนองดนตรีของเขมรจากศูนย์อพยพมาปรับใหม่จนมีลักษณะเฉพาะ ฉาบ และกรับ การแต่งกาย เลียนแบบการแต่งกายของเขมร คือฝ่ายชายจะสวมเสื้อคอกลมแขนสั้น สวมกางเกงขายาวสีดำ มีผ้าคาดเอวฝ่ายหญิงจะนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อลูกไม้แขนยาวมีระบายที่เอวและแขนมีผ้าพาดตะเบงโอกาสที่ใช้แสดง ใช้แสดงในโอกาสทั่ว ๆ ไปในงานประเพณีรื่นเริงต่าง ๆ
การแสดงระบำ ใช้ผู้แสดงชายหญิงเป็นคู่ มีอุปกรณ์ประกอบการแสดงคือร่ม เป็นการหยอกล้อกันระหว่างหนุ่มสาว การปรับปรุงท่ารำจะยึดรูปแบบท่ารำเดิมของชาวเขมรอพยพที่อำเภอกาบเชิง การแต่งกาย เลียบแบบการแต่งกายของชาวเขมรโดยฝ่ายหญิงสวมเสื้อคอกลมแขนในตัว นุ่งผ้าจับจีบหน้านางเฉียงด้านข้าง ใส่เครื่องประดับ เช่น สร้อย ตุ้มหู มีผ้าคาดเอว ดนตรีที่ใช้ ใช้ทำนองดนตรีพื้นเมืองของเขมรอพยพอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ มาปรับปรุงโดยยึดทำนองเพลงเดิมเป็นหลัก แต่ใช้วงดนตรีพื้นเมืองสุรินทร์บรรเลง โอกาสที่ใช้แสดง ใช้แสดงในโอกาสทั่ว ๆ ไปในงานประเพณีรื่นเริงต่าง ๆ
การแสดงระบำกะลา จะเน้นให้เห็นถึงความสนุกสนานและการหยอกล้อกันระหว่างหนุ่มสาวโดยมีอุปกรณ์ประกอบการแสดงคือ กะลามะพร้าว คนละคู่ และใช้กะลามะพร้าว เคาะตามจังหวะของเสียงเพลง แปรแถวในรูปแบบต่าง ๆ ดนตรีที่ใช้ ใช้ทำนองเพลงพื้นเมืองของเขมรอพยพมาปรับปรุงโดยยึดทำนองเดิมเป็นหลัก บรรเลงด้วยวงพื้นเมืองสุรินทร์เขมรประกอบ การแต่งกาย เลียนแบบการแต่งกายระบำกะลาของชาวเขมรอพยพโดยผู้แสดงฝ่ายหญิงจะนุ่งผ้าถุงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอกมีสไบพาดเฉียงบ่ามามัดรวมด้านข้าง ฝ่ายชายสวมเสื้อคอกลมแขนสั้น สุ่งกางเกงขายาวสีดำ มีผ้าคาดเอว โอกาสที่ใช้แสดง ใช้แสดงในโอกาสต่าง ๆ เช่นเดียวกับระบำสุ่มและระบำร่ม
ทำนองเพลงและดนตรี ใช้ทำนองเพลงกันตรึมโดยเลือกเพลงหลาย ๆ เพลงที่มีอารมณ์เพลงต่างกันมาบรรเลงต่อเนื่องกันให้สอดคล้องกับท่ารำ การแต่งกาย ผู้แสดงหญิงจะนุ่งผ้าถุงพื้นเมืองสุรินทร์ยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอก โดยเอาชายเสื้อไว้ข้างในผ้าถุงแล้วคาดเข็มขัดทับ ศรีษะโพกด้วยผ้าพื้นเมืองสุรินทร์ มีผ้าคล้องไหล่ โอกาสที่ใช้แสดง ใช้แสดงในโอกาสต่าง ๆ ที่เป็นงานรื่นเริงทั่วไป
โอกาสที่แสดง จะใช้แสดงต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองและในโอกาสอวยพรต่าง ๆ การแต่งกายของผู้แสดง จะนุ่งผ้าถุงไหมพื้นเมืองครึ่งน่องผ้าขาวม้าไหมคาดกระโจมอก จับจีบไว้ทางซ้ายมือแล้วปล่อยชายลง ผมเกล้า ทัดด้วยดอกไม้ ใส่เครื่องประดับเช่น สร้อยคอ ตุ้มหู เข็มขัด ดนตรี ใช้วงกันตรึมบรรเลงเพลงกัจปะกา ซาปาดานประกอบในการแสดง ลักษณะการแสดง จะแสดงเป็นหมู่ โดยจัดเป็นคู่ ๆ จุด สำคัญอยู่ที่ความพร้อมเพรียงของผู้แสดงเป็นหลัก
เครื่องดนตรี ที่ใช้ประกอบมี ปี่ ซอ ฉิ่ง กรับ กลองโทน ทำนองร้องใช้เพลงพื้นเมือง ทำนองเพลงอายัย จำนวนผู้แสดง ไม่จำกัดคู่ ต่างรำคลอเคลียกันเป็นคู่ ๆ การแต่งกาย ใช้ผ้าสีเขียวใบไม้ตัดเป็นชุดแต่งให้คล้ายตั๊กแตนตำข้าวถ้าผู้แสดงเป็นตัวเมียต้องมีกระโปรงสั้น ๆ ตัดให้บานเล็กน้อยสวมทับอีกชั้น เพื่อให้ดูแปลกว่าผู้แสดงเป็นตั๊กแตนตัวผู้ อุปกรณ์ประกอบอย่างอื่นก็มีปีกของตั๊กแตน ซึ่งทำด้วยกระดาษแข็งปิดด้วยกระดาษมันสีเขียว ก่อนแสดงผู้รำจะสวมปีกไว้ด้านหลังเพื่อให้มีลักษณะคล้ายตัวตั๊กแตนจริง ๆ นอกจากปีกแล้วก็มีหัวทำเป็นหมวกหรือหน้ากากใช้สวมใส่ วิธีการแสดง จะแบ่งผู้แสดงเป็นตั๊กแตนตัวเมียและตัวผู้เริ่มแสดงโดยผู้แสดงเป็นตัวตั๊กแตนออกมาเต้นเป็นคู่ ๆ ตามจังหวะดนตรี ผู้เต้นต้องส่ายตัวไปมาด้วยท่าทางเลียนแบบลีลาของตั๊กแตนให้มากที่สุดในขณะเดียวกันก็จะเปลี่ยนท่าทางต่าง ๆ ของการเต้นไปตามจังหวะและคำร้องเพื่อให้เกิดความสวยงามตามจังหวะที่เร่งเร้าสนุกสนานผู้เต้นจะต้องใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น มือ เท้า แขน ขา หน้าตา ลำตัว ในขณะการเต้นด้วย
ผู้แสดงระบำกรับ ส่วนมากจะเป็นชาย เป็นการรำที่แสดงออกถึงความสนุกสนานเพลิดเพลินให้กับตนเองอย่าง ที่เรียกว่าศิลปินเพื่อศิลปะ ในการรับกรับอาจจะมีผู้ที่สนใจอาสามาเป็นลูกคู่ ปรบมือ ตีเกราะ เคาะไม้ผสมโรงไปด้วย โอกาสที่ใช้แสดง นิยมแสดงในงานนักขัตฤกษ์งานมงคลทุกประเภท
รูปแบบการเล่น คล้ายกับลิเกภาคกลาง เรื่องที่นำเล่นมักเป็นเรื่องนิทานที่เล่าสืบต่อกันมา แต่ใช้ภาษาเขมรทั้งหมด เครื่องดนตรี ที่ใช้ประกอบการเล่น มี กลองรำมะนา ซออู้ และเครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ ก่อนการเล่นจะมีการไหว้ครูและออกแขกเหมือนกับลิเกทั่วไป |